คอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่อะไร
คอมเพรสเซอร์แอร์คืออะไร
คอมเพรสเซอร์(Compressor) คือ หัวใจของระบบปรับอากาศ เป็นชิ้นส่วนเครื่องจักกรที่ใช้ไฟฟ้า ทำหน้าที่อัดสารทำความเย็นหรือที่เราเรียกกันว่าน้ำยาแอร์ ในสถานะที่เป็นไอ ส่งไปตามท่อน้ำยาแอร์ที่เป็นท่อทองแดง ไปยังเครื่องควบแน่นหรือคอมเด็นซิ่งยูนิค (Condensing Unit) ที่ทำหน้าที่ควบแน่นสารทำความเย็นที่ มีแรงดันสูง และอยู่สถานะเป็นไอ หรือเป็นก๊าซ โดยการระบายความร้อนออกจากน้ำยาแอร์ด้วยพัดลมระบายอากาศ ที่เรามองเห็นจากภายนอกตัวคอยล์ร้อนนั่นแหละครับ คือพัดลมที่ไว้คอยระบบความร้อน
หลังจากถูกควบแน่นแล้วสารทำความเย็นแรงดันสูงจะถูส่งต่อไปยังชุดเครื่องระเหย หรือคอยล์เย็น หรือแฟนคอยล์ ผ่านชุดลดแรงดัน(แคปทิ้ว หรือเอ็กแพนชั่นวาล์ว) ลดแรงดันสูงลงและเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซ แถมยังมีอุณหภูมิลดลง เราจึงใช้พัดลมในคอยล์เย็นนี่แหละระบายความเย็นออกจากท่อเพื่อปรับอากาศใน ห้องนั้นให้เย็นลง และสารทำความเย็นที่เหลือก็ถูกดูดกลับมายังคอมเพรสเซอร์อีกครั้ง เพื่อกลับเข้าสู่ระบบทำความเย็นต่อไปเป็น วัฏจักรความเย็น ไม่สิ้นสุดจนกว่าคอมเพรสเซอร์จะหยุดทำงานนั่นเอง
คอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศมี 5ประเภทหลักคือ
Ø คอมเพรสเซอร์ลูกสูบ หรือ (Reciprocating)
Ø คอมเพรสเซอร์โรตารี่ หรือ (Rotary compressor)
Ø คอมเพรสเซอร์แรงเหวี่ยง หรือ(Centrifugal compressor)
Ø สกรูคอมเพรสเซอร์ หรือ(screw compressors)
Ø สโกล์คอมเพรสเซอร์ หรือ(Scroll compressors)
ทั้ง5ชนิดของคอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานด้วยเหมือนกันคือ อัดน้ำยาแอร์ให้มีแรงดันสูงและส่งไปสู่ระบบการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ แต่มีข้อแตกต่างที่กระบวนการทำงาน และส่วนประกอบที่แตกต่างกันไปดังที่ได้แยกประเภทไว้ข้างต้น และแยกปตามประเภทของสารทำความเย็นด้วย เช่น น้ำยาแอร์เบอร์ 22 หรือ R-22 ก็ต้องใช้คอมเพรสเซอร์สำหรับน้ำยาแอร์ R-22 เท่านั้น ไม่สามารถใช้รวมกันหรือทดแทนกับน้ำยาแอร์เบอร์อื่นได้
Thanks to watcharaaircon.com
คอมเพรสเซอร์(Compressor) คือ หัวใจของระบบปรับอากาศ เป็นชิ้นส่วนเครื่องจักกรที่ใช้ไฟฟ้า ทำหน้าที่อัดสารทำความเย็นหรือที่เราเรียกกันว่าน้ำยาแอร์ ในสถานะที่เป็นไอ ส่งไปตามท่อน้ำยาแอร์ที่เป็นท่อทองแดง ไปยังเครื่องควบแน่นหรือคอมเด็นซิ่งยูนิค (Condensing Unit) ที่ทำหน้าที่ควบแน่นสารทำความเย็นที่ มีแรงดันสูง และอยู่สถานะเป็นไอ หรือเป็นก๊าซ โดยการระบายความร้อนออกจากน้ำยาแอร์ด้วยพัดลมระบายอากาศ ที่เรามองเห็นจากภายนอกตัวคอยล์ร้อนนั่นแหละครับ คือพัดลมที่ไว้คอยระบบความร้อน
หลังจากถูกควบแน่นแล้วสารทำความเย็นแรงดันสูงจะถูส่งต่อไปยังชุดเครื่องระเหย หรือคอยล์เย็น หรือแฟนคอยล์ ผ่านชุดลดแรงดัน(แคปทิ้ว หรือเอ็กแพนชั่นวาล์ว) ลดแรงดันสูงลงและเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซ แถมยังมีอุณหภูมิลดลง เราจึงใช้พัดลมในคอยล์เย็นนี่แหละระบายความเย็นออกจากท่อเพื่อปรับอากาศใน ห้องนั้นให้เย็นลง และสารทำความเย็นที่เหลือก็ถูกดูดกลับมายังคอมเพรสเซอร์อีกครั้ง เพื่อกลับเข้าสู่ระบบทำความเย็นต่อไปเป็น วัฏจักรความเย็น ไม่สิ้นสุดจนกว่าคอมเพรสเซอร์จะหยุดทำงานนั่นเอง
คอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศมี 5ประเภทหลักคือ
Ø คอมเพรสเซอร์ลูกสูบ หรือ (Reciprocating)
Ø คอมเพรสเซอร์โรตารี่ หรือ (Rotary compressor)
Ø คอมเพรสเซอร์แรงเหวี่ยง หรือ(Centrifugal compressor)
Ø สกรูคอมเพรสเซอร์ หรือ(screw compressors)
Ø สโกล์คอมเพรสเซอร์ หรือ(Scroll compressors)
ทั้ง5ชนิดของคอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานด้วยเหมือนกันคือ อัดน้ำยาแอร์ให้มีแรงดันสูงและส่งไปสู่ระบบการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ แต่มีข้อแตกต่างที่กระบวนการทำงาน และส่วนประกอบที่แตกต่างกันไปดังที่ได้แยกประเภทไว้ข้างต้น และแยกปตามประเภทของสารทำความเย็นด้วย เช่น น้ำยาแอร์เบอร์ 22 หรือ R-22 ก็ต้องใช้คอมเพรสเซอร์สำหรับน้ำยาแอร์ R-22 เท่านั้น ไม่สามารถใช้รวมกันหรือทดแทนกับน้ำยาแอร์เบอร์อื่นได้
Thanks to watcharaaircon.com
แสดงความคิดเห็น